พีเอชดาวน์ (PH Down) 4 ลิตร

150.00฿

ค่าขนส่งสินค้า

  • เจ แอนด์ ที, KERRY  ราคา 125฿ / 1 แกลอน (4 ลิตร)
  • สินค้าไม่รวมค่าขนส่ง
รหัสสินค้า: PH-DOWN หมวดหมู่:

รายละเอียดเพิ่มเติม

พีเอชดาวน์ (PH Down) 4 ลิตร

พีเอชดาวน์ (PH Down) ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้น การควบคุมค่าความเป็น กรด-ด่าง ( pH ) ของสารละลายในระบบให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อยไปกว่าการใส่ธาตุอาหารให้กับพืช หากไม่สามารถรักษาระดับความเป็น กรด-ด่าง ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการปลูกพืชไว้ได้ จะทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมธาตุอาหารที่มีในระบบ ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

       ค่า pH ของสารละลายโดยทั่วไป ควรอยู่ในช่วง 5.5 – 6.5 หรือให้ดีที่สุด อยู่ในช่วง 5.8 – 6.2 ซึ่งเป็นช่วงที่พืชสามารถดูดใช้ธาตุอาหารทุกตัวได้ดี แต่หากค่า pH ของสารละลาย ต่ำกว่า 4 จะเป็นอันตรายต่อรากพืช ในทางตรงข้ามถ้า pH สูงกว่า 7 ติดต่อกันนาน 2 – 3 วัน จะทำให้การดูดใช้ ฟอสฟอรัสเหล็กและแมงกานีส ผิดปกติไป เนื่องจากธาตุอาหารดังกล่าวจะตกตะกอนในสภาวะที่น้ำมีค่า pH เกินกว่า 7 ขึ้นไป ทำให้พืชขาดธาตุอาหารดังกล่าว จนแสดงอาการขาดธาตุอาหารดังกล่าวออกมา

       โดยปกติเมื่อ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ค่า pH ของสารละลายจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งพืชโตขึ้นมากเท่าใด ค่า pH จะยิ่งสูงขึ้นตาม ทั้งนี้เพราะ ในการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ (vegetative growth) พืชจะมีการดูดใช้ ไนเตรทอิออน (NO3-) เป็นส่วนใหญ่ (ดูดใช้ประจุลบมากกว่าบวก) จึงมีการปล่อยอนุมูล ไบคาร์บอเนต (HCO3-) ออกมาในปริมาณเท่ากัน ทำให้ pH ของสารละลายเพิ่มขึ้นด้วย ในการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์จึงต้องวัดค่า pH สม่ำเสมอ และปรับค่าให้อยู่ประมาณ 6 ตลอดเวลา

      ในการปรับค่า pH ของสารละลาย เรานิยมใช้ กรดไนตริก หรือ กรดฟอสฟอริก ซึ่งการเติมกรดทั้ง 2 ชนิดนี้จะช่วยลดค่า pH ในน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อนุมูลของกรดทั้งสองชนิดนี้เมื่อแตกตัวจะทำให้ได้ธาตุอาหารพืชที่แตกต่างกันออกไปคือ กรดไนตริกจะได้ไนโตรเจน และกรดฟอสฟอริกจะได้ฟอสฟอรัส และการใช้สูตรสารละลายธาตุอาหารที่มีแอมโมเนียมเป็นส่วนผสม ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการรักษาสมดุล pH ในช่วงฤดูร้อน เพราะเมื่อมีอนุมูล NH4+ ในสารละลายการดูดใช้อนุมูลนี้ของพืช จะเกิดการปลดปล่อยอนุมูลไฮโดรเจนออกมา ทำให้ pH ลดลงได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามต้องระวังไม่ให้อนุมูล NH4+ เพิ่มเกิน 10% ของความเข้มข้นของอนุมูล NO3- ในสารละลาย เนื่องจาก NH4+ ที่ความเข้มข้นสูงๆ เป็นอันตรายต่อพืชได้

       ในทางกลับกัน หากต้องการเพิ่มค่า pH ของสารละลาย ในกรณีที่น้ำที่ใช้ตั้งต้นมีค่า pH ต่ำ การเพิ่ม pH ของสารละลาย ทำได้โดยเติมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ หรือโพแทสเซียมคาร์บอเนต และลดปริมาณแอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3) ลง หรืออาจจะเปลี่ยนจาก โมโนแอมโมเนียมฟอสเเฟต มาใช้ ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต แทนก็ได้ สารที่นิยมใช้ในการเพิ่มค่า pH คือ โซเดี่ยมคาร์โบเนต (sodium carbonate) ซึ่งมี pH 8.2 และช่วยเพิ่มโพแทสเซียม ในสารละลายได้ แต่ไม่ควรใช้ในรูปของเกลือโซเดี่ยม เนื่องจากพืชไม่ต้องการธาตุนี้

ข้อดีของกรดทั้ง 2 ชนิดในการลดค่า pH
1. กรดไนตริก (HNO3) จะช่วยเพิ่มไนโตรเจนในสารละลาย มีราคาถูก เป็นที่นิยมใช้กันมาก
2. กรดฟอสฟอริก (H3PO4) จะช่วยเพิ่มฟอสฟอรัส แต่มีราคาค่อนข้างแพง เมื่อเทียบกับกรดตัวอื่น แต่จะลด pH ได้ดีกว่ากรดชนิดในปริมาณการใช้ที่เท่ากัน

หมายเหตุ
1. ราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าจัดส่ง
2. แนะนำให้ผู้ใช้ค่อยๆเติมกรดทีละน้อย พร้อมทำการวัดค่าควบคู่ไปด้วยเพื่อความถูกต้อง
3. การปรับลดค่า pH ต่ำเกินไป จะส่งผลต่อความแข็งแรงของรากพืช ทำให้รากพืชได้รับอันตรายจากการกัดกร่อนของกรดที่มากเกินไป
ค่า pH ที่ปรับสำหรับการปลูกพืชจึงไม่ควรต่ำกว่า 5.5  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายของการปลูกพืช (ระยะก่อนเก็บเกี่ยว) อย่าให้ค่า pH ต่ำเกิน 6.5 เนื่องจากช่วงเวลาดัง กล่าวเป็นช่วงที่พืชต้องการใช้ ธาตุแคลเซียม, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม ในปริมาณที่สูงขึ้น

 

 

สั่งซื้อตอนนี้เพียงคลิ๊กปุ่ม “หยิบใส่ตระกร้า” ด้านบน!

หรือสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Hydroponic Group (Thailand) Co., Ltd.

เลขที่: 45/46 ม.2 ซอยป่าเปอะ19 ต.ท่าวังตาบ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140

097-954-0953  @hydroponicgroup

 hydroponic.sme

 contact@hydroponic.sme.com

วิธีการชำระเงิน

ชำระเงินผ่านธนาคาร

 

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

เฉพาะลูกค้าที่เข้าสู่ระบบ และเคยซื้อสินค้าชิ้นนี้แล้วเท่านั้น ที่เขียนบทวิจารณ์ได้