วิธีผสมธาตุอาหาร AB

วิธีผสมธาตุอาหาร AB

วิธีผสมธาตุอาหาร AB : ธาตุอาหารสำหรับการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  1. ธาตุอาหารหลักที่จำเป็น ได้แก่ ไนโตรเจน โปแตสเซียม และฟอสฟอรัส
  2. ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ ในปริมาณที่พอเหมาะ

วิธีการผสมธาตุอาหาร AB

  • สำหรับ ผักสลัด/ผักกินใบ ให้ผสมธาตุอาหารA/B  (ปุ๋ยน้ำ AB เข้มข้น) เข้าด้วยกันใน อัตราส่วน 1 : 1 ลงในน้ำเปล่าปริมาณ 120 ส่วน (จะได้ค่า EC ประมาณ 1.3 ms/cm) คนให้เข้ากัน แล้วนำไปใช้ปลูกผักได้ทันที
    • ตัวอย่างอัตราส่วนการผสม ผสมธาตุอาหาร A/B อย่างละ 1 ลิตร ลงในน้ำเปล่า 120 ลิตร แล้วคนให้เข้ากัน หลังจากนั้น สามารถนำไปเทลงใน ถาดเพาะ หรือ รางอนุบาล รวมทั้งถังบรรจุสารอาหาร เพื่อใช้ปลูกผักได้เลย โดยส่วนที่เหลือให้เก็บไว้ในถังพัก เพื่อใช้เติมเมื่อน้ำแห้งต่อไป (ท่านใดที่ใช้ธาตุอาหารปริมาณน้อยกว่านี้ในการผสม ก็ลดไปตามส่วนเท่าที่ต้องการ เช่น ผสมธาตุอาหาร A/B อย่างละครึ่งลิตร ก็จะผสมลงในน้ำเปล่า 60 ลิตร โดยใช้หลักการเทียบบัญญัติไตรยางค์นั่นเอง)
    • เราจะเริ่มให้ธาตุอาหารแก่ต้นกล้า ที่มีอายุตั้งแต่ 5 วัน โดยเทน้ำที่ผสมธาตุอาหารเรียบร้อยแล้ว เติมลงในถาดเพาะ ให้ความสูงของระดับน้ำประมาณครึ่งนิ้ว (ไม้บรรทัด) หรือครึ่งหนึ่งของฟองน้า
  • สำหรับผักกินผล ให้ผสมธาตุอาหาร A/B เข้าด้วยกันตามสัดส่วนที่กาหนดไว้ในตาราง

  • หลังจากที่ผสมธาตุอาหาร A/B ลงในน้ำเปล่าตามอัตราส่วนที่กำหนด (1 : 120) เรียบร้อยแล้ว เราสามารถเทน้ำ ที่ผสมธาตุอาหารแล้วลงในภาชนะปลูกได้เลย ส่วนที่เหลือก็เก็บไว้ในถังพักธาตุอาหารและจะนำมาเติมในแต่ละรางปลูก หรือในถังรวมน้ำธาตุอาหาร ก็ต่อเมื่อสังเกตเห็นว่ามีปริมาณน้ำลดลง

หมายเหตุ ผักไทยทรงสูง ผักสลัดทรงพุ่ม จึงไม่ควรเพาะเมล็ดในถาดเดียวกัน


น้ำที่ใช้ปลูก

  1. ไม่ควรนำน้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำมาใช้ปลูกผักทันที เพราะสารคลอรีนในน้ำประปาเป็นเหตุให้เมล็ดพันธุ์ผักไม่งอก รวมทั้งไม่ควรใช้น้ำบรรจุขวดใดๆ ก็ตามเพราะเมล็ดผักไม่ค่อยงอกเช่นกัน
  2. หากต้องการใช้น้ำประปาในการปลูก ต้องเปิดรองน้ำทิ้งไว้ในถังพักน้ำอย่างน้อย 3 วัน เพื่อให้ คลอรีน สลายตัวหมดเสียก่อน
  3. น้ำประปาที่ผ่านเครื่องกรองน้ำ ก็สามารถนามาใช้ปลูกผักสลัดได้ แต่ก็ควรกรองน้ำทิ้งไว้ในภาชนะที่เปิดฝา อย่างน้อย 3 วันเช่นกัน (การปิดฝาภาชนะ ทำให้คลอรีนยังคงอยู่ในน้ำ)
  4. เพื่อป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำ ซึ่งเป็นตัวการแย่งธาตุอาหารของผักสลัด ให้ปิดฝาถังบรรจุน้ำเพื่อไม่ให้น้ำโดนแสงแดด

วิธีผสมธาตุอาหาร AB

 

เมื่อไหร่จะแยกต้นกล้าลงถ้วยปลูก

  • หลังจากที่เราเริ่มเพาะเมล็ดผ่านไป 3 วัน
  • วันที่ 4 ของการเพาะเมล็ด ให้เราเปิดผ้าคลุมออก ก็จะพบกับ ต้นกล้าน้อยๆ ดังภาพ อย่าเพิ่งดีใจรีบแยกใส่ ถ้วยปลูกสีเขียว/ถ้วยปลูกใช้ซ้ำสีขาว เพราะต้นกล้ายังเล็กเกินไป รากก็ยังสั้นอยู่ ปล่อยให้ต้นกล้าอยู่ในถาดเพาะไปก่อน สังเกตที่ใบเลี้ยงยังเป็นสีเหลืองยังไม่ได้รับแสงแดดอ่อนๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์แสง
  • ดังนั้นทุกเช้าและเย็น ให้นำต้นกล้ารับแสงแดดอ่อนๆ ทุกวันครั้งละ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้น ใบเลี้ยงจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวลำต้นเริ่มแข็งแรง ตามภาพข้างล่าง

วิธีผสมธาตุอาหาร AB

  • วันที่ 5 ของการเพาะเมล็ดให้เราเติมน้ำที่ ผสมธาตุอาหาร A/B ลงใน ถาดเพาะเมล็ด โดยมีระดับน้ำในถาดเพาะสูงประมาณครึ่งหนึ่งของฟองน้า (หากเติมน้ำจนท่วมฟองน้ำ ต้นกล้าจะตาย และหากปล่อยจนน้ำแห้งไม่ได้ดูแล ต้นกล้าจะเหี่ยวเฉา)
  • ต้นกล้าอายุ 7-13 วัน ใบจะมีสีเขียว สลัดบางพันธุ์จะเริ่มมีสีแดงที่ใบให้เห็น หมั่นดูและเติมน้ำที่ผสมธาตุอาหารอย่าปล่อยให้น้ำพร่อง อดใจไว้อีกนิด รอให้น้องผักแตกใบแท้คู่แรกก่อน จึงค่อยขยับขยาย ย้ายลงถ้วยปลูกผัก แล้วนำแต่ละถ้วยปลูกผัก ไปวางไว้ในแปลงปลูกเป็นลำดับต่อไป
  • ช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 ต้นกล้าเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นและแสดงสีสันบนใบชัดเจนขึ้น รากยาว และมีลำต้นแข็งแรง ก็ได้เวลาย้ายลงถ้วยปลูกได้แล้ว ตามภาพข้างล่าง

แสดงวิธีแยกต้นกล้าเพื่อใส่ลงถ้วยปลูก

  • สัปดาห์ที่ 4-5 น้องผักของพวกเราจะโตเร็วมาก เปรียบเหมือนวัยรุ่นที่กินจุและโตไวมาก ทำให้น้ำที่ผสมธาตุอาหารแห้งเร็วมาก จึงควรหมั่นดูระดับน้ำ เช้า-เย็น เป็นประจำ อย่าให้น้ำพร่อง อีกอย่างที่หลายท่านไม่รู้ก็คือ น้องผักสลัดของพวกเรา เขาหายใจทางรากด้วย ดังนั้นใน ช่วงสัปดาห์ที่ 4 ให้ลดปริมาณน้ำลง (จากเดิมที่ฟองน้ำจะต้องแช่อยู่ในน้ำ คราวนี้จะไม่ให้ฟองน้ำสัมผัสกับน้ำอีกต่อไป)

** โดยแบ่งรากออกเป็น 3 ส่วนด้วยสายตา เริ่มจากโคนต้นไปยังปลายราก ให้รากที่ติดกับโคนต้นเป็นส่วนที่ 1 สัมผัสกับอากาศเพื่อการหายใจทางราก ถัดจากนี้รากอีก 2 ส่วน ให้แช่อยู่ในน้ำตามเดิม เพื่อการดูดซับธาตุอาหาร ตามภาพข้างล่าง

ส่วนท่านที่ปลูกผักในรางของ ชุดโต๊ะปลูก ก็ไม่ต้องกังวล เพราะได้ออกแบบสำหรับการนี้ไว้แล้ว โดยให้มีระดับน้ำในรางปลูก ประมาณ 5 มิลลิเมตร ซึ่งเพียงพอ สำหรับการส่งธาตุอาหาร A/B ไปให้พืชผักพร้อมๆ กับให้รากผักได้สัมผัสกับออกซิเจนในอากาศได้อย่างลงตัว

 

  • สัปดาห์ที่ 6 เป็นช่วงเวลาที่พวกเรารอคอยเพราะเป็น.. “ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต” น้องผักจะมีระยะเวลาในการปลูกทั้งสิ้นประมาณ 45 วัน ดังนั้น เมื่อครบ 6 สัปดาห์ ให้เราเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะออกให้หมด และเติมใส่แต่น้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวแทน และหยุดการใส่ธาตุอาหารอย่างน้อย 3 วัน เพื่อไม่ให้มีสารละลายธาตุอาหารตกค้างในผักก่อนที่ราจะนำไปบริโภค

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น